เทคโนโลยี สิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรมใหม่ รวมทุกเรื่องราวของโลกเทคโนโลยี ให้คุณได้ติดตาม

เทคโนโลยี สิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรมใหม่ รวมทุกเรื่องราวของโลกเทคโนโลยี ให้คุณได้ติดตาม

10นวัตกรรมใหม่ห้องเรียน สำหรับห้องเรียนแห่งอนาคต

10นวัตกรรมใหม่ห้องเรียน

1. Video Lectures

ครูคนไหน ๆ ก็อยากจะมีเวลามากขึ้นเพื่อใช้เวลาส่วนที่เหลือสำหรับการสนับสนุนและช่วยเหลือนักเรียนของเขาได้อย่างเต็มที่ รูปแบบการสอนแบบห้องเรียนกลับด้านด้วย Vedio Lectures จึงกลายเป็นพระเอกสำคัญ แค่ใช้เวลาเพื่ออัดวิดีโอเพียง 1 ครั้ง ก็สามารถส่งกลับไปให้นักเรียนค้นคว้าเองที่บ้านด้วยตัวเองได้ ส่วนเวลาที่เหลือก็ใช้ไปกับการเรียนรู้ในรูปแบบอื่น ๆ เช่น การสาธิต การลงมือทำ ต่างจากเมื่อก่อนที่ปล่อยให้นักเรียนได้เพียงเอากลับไปคิดที่บ้านเท่านั้น

2. Immersive Mixed-Reality Experiences

ปัจจุบันนักเรียนไม่จำเป็นต้องอยู่กับแค่การอ่านหนังสือ หรือแผ่นโปสเตอร์เพื่อให้เข้าใจในประวัติศาสตร์ หรือศึกษาดาราศาสตร์ เพราะตอนนี้มีเทคโนโลยีชื่อว่า Mixed-Reality ที่ทำให้นักเรียนหลุดเข้าไปในโลกจำลองให้พวกเขาได้เข้าถึงสถานที่ หรือเหตุการณ์ในช่วงเวลานั้น และยังสามารถมีปฏิสัมพันธ์ตอบโต้ ทำให้นักเรียนเข้าใจได้อย่างลึกซึ้งอีกด้วย ลองจินตนาการหากนักเรียนได้ลองฝึกบินบนอากาศยาน หรือทดลองผ่าตัดด้วยเทคโนโลยีนี้ก็คงจะตื่นเต้นไม่น้อย

 

 

3. Virtual Reality Experiments

ห้องเรียนสมัยใหม่เริ่มมีการนำเทคโนโลยี Virsual Reality (VR) เข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างกระบวนการเรียนรู้มากขึ้น ยิ่งเพิ่มประสบการณ์ให้นักเรียนนั้นได้สัมผัสกับเหตุการณ์ หรือสถานที่ต่าง ๆ และเทคโนโลยี VR ยังเป็นเครื่องมือที่ทำให้นักเรียนได้อยู่ในสถานการณ์จริงแต่ไม่ก่อให้เกิดอันตรายอีกด้วย

4. Incorporation Of Chrome OS

แพลตฟอร์มของ Google อย่าง Chrome ไม่ได้เป็นเพียงพื้นที่สำหรับการทำงานร่วมกันบนออนไลน์ (เช่น Google Doc) เท่านั้น แต่ Chrome ยังได้จัดเตรียมข้อมูลไว้สำหรับคุณครูได้เลือกใช้อีกหลากหลาย เช่น Classwork page ใน Google Classroom ซึ่งสามารถจำลองเป็นห้องเรียนที่ใช้ทั้งสอนนักเรียนและมอบหมายงานได้ ดังนั้น Chrome OS จึงเหมาะที่จะใช้เป็นห้องเรียนพื้นฐาน และยังมีฟังก์ชันที่หลากหลายให้ได้ลองใช้ เช่น podcasts, remote lectures, eBook และการทำงานร่วมกันระหว่างโรงเรียนต่าง ๆ แบบออนไลน์

5. Predictive Analytics

หลายครั้งคุณครูคงเคยเห็นการวิเคราะห์เชิงลึกมาในรูปแบบการตรวจสุขภาพ เพื่อเตรียมความพร้อมและกำหนดเป้าหมายเพื่อให้มีสุขภาพที่ดี แต่กลับไม่ค่อยได้พบเห็นใครนำการวิเคราะห์เชิงลึกมาใช้กับคะแนนสอบอย่างจริงจัง ซึ่งปัจจัยของการวิเคราะห์เชิงลึกในคะแนนสอบนั้นมีปัจจัยหลัก คือการวิเคราะห์ด้านสังคม สุขภาพ และอื่น ๆ ร่วมด้วยเพื่อพิจารณาว่านักเรียนนั้นมีความเสี่ยงมากน้อยแค่ไหน และคุณครูจะกำหนดเป้าหมายเพื่อแก้ไขจุดบกพร่องให้นักเรียนได้อย่างไร

6. Deeper Insight Into Each Student’s Learning Experience

โดยปกติคุณครูจะมีกรอบตัวชี้วัดในการสังเกตและทดสอบ เพื่อประเมินการเรียนรู้ของนักเรียน แต่ในปัจจุบันรูปแบบของการเรียนรู้ของนักเรียนมีความหลากหลายมากขึ้น ทั้งจากการใช้อุปกรณ์ดิจิทัล หรือแพลตฟอร์มออนไลน์ต่าง ๆ คุณครูจึงสามารถเก็บข้อมูลการศึกษาของนักเรียนได้ง่ายและละเอียดมากขึ้น นี่จึงถือเป็นโอกาสที่ดีในการทำความเข้าใจเทคโนโลยีเพื่อประเมิน และปรับเปลี่ยนประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับนักเรียนแต่ละคน

7. AR-Powered International Field Trips

โลกของการทัศนศึกษาแบบเสมือนจริงโดยการใช้เทคโนโลยี Virtual Reality (AR) นั้นช่วยให้นักเรียนเดินทางไปยังสถานที่ต่าง ๆ ได้ทั่วโลก เพื่อศึกษาหาข้อมูลและโต้ตอบกับสิ่งประดิษฐ์ หรือวัตถุต่าง ๆ แบบเสมือนจริงได้อย่างละเอียดมากขึ้น ซึ่งการทัศนศึกษาแนวนี้ช่วยเพิ่มความเข้าใจแบบเจาะลึกให้นักเรียนอย่างมาก

 

 

8. Real-Time Digital Engagement

เทคโนโลยีบนโลกแห่งดิจิทัล ยังคงก้าวหน้าและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบรับกับการเรียนรู้ในปัจจุบัน ทั้งการรวบรวมข้อมูลที่ค้นหาแบบเรียลไทม์ การสื่อสารแบบสองทิศทาง และการปรับเปลี่ยนรูปแบบการเรียนการสอนที่ยืดหยุ่น เพื่อสนับสนุนห้องเรียนของคุณครูให้เกิดการเรียนรู้แบบปฏิสัมพันธ์ ทั้งในรูปแบบของการส่งกิจกรรม แบบทดสอบต่าง ๆ หรือรวบรวมข้อเสนอแนะ ปรับปรุงบทเรียน เพื่อตอบสนองการเรียนรู้ของนักเรียนได้แบบเรียลไทม์

9. Instant Feedback For Students

การสร้างห้องเรียนในรูปแบบออนไลน์นั้น ทำให้คุณครูสามารถส่งข้อเสนอแนะให้ผู้เรียนได้ทันที ยกตัวอย่างเช่น
เมื่อนักเรียนกำลังทำโปรเจคผ่านช่องทาง Google Doc (เอกสารออนไลน์) คุณครูก็สามารถแสดงความคิดเห็นเพื่อช่วยเหลือนักเรียนได้ในทันที และนอกจากนี้คุณครูยังสามารถแชร์ข้อมูล หรือเนื้อหาเพื่อช่วยในการทบทวนและทำงานร่วมกันกับนักเรียนได้อีกด้วย

10. Back-Office Tech

คุณครูทุกท่านเต็มที่เสมอ เพื่อสร้างการศึกษาที่ “ดีที่สุด” จากตัวอย่างของการสอนหลักสูตรแบบ Reggio ที่สร้างขึ้นนั้น มีเป้าหมายแตกต่างกับหลักสูตร STEM ที่นำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยยกระดับเบื้องหลังการจัดการเรียนการสอน เช่น การจัดการภาระงานที่ซ้ำซ้อน การรวบรวมข้อมูลเชิงลึก เพื่อช่วยให้คุณครูได้รับรู้ถึงสิ่งที่จำเป็นเพื่อนำมาพัฒนาคุณภาพของหลักสูตรให้ “ดีที่สุด”

ที่มา: aksorn

Tags

แชร์:

เรื่องอื่นๆ