AirCarbon จับก๊าซเรือนกระจกมาทำเป็นพลาสติก เพื่อลดปริมาณคาร์บอน
จากข้อสงสัยที่ว่า “ก๊าซเรือนกระจกสามารถนำมาใช้เป็นทรัพยากรได้หรือไม่” ของ Mark Herrema จาก มหาวิทยาลับพรินซ์ตัน (Princeton University) ที่มีความต้องการจะนำคาร์บอนในอากาศมาใช้ผลิตพลาสติก เขาจึงได้ร่วมกับ Kenton Kimmel ก่อตั้ง Newlight Technologies ขึ้น ในปี 2003 และได้ค้นพบการผลิตพลาสติกรูปแบบใหม่ ด้วยการใช้ก๊าซมีเทนในการผลิต ซึ่งกระบวนการผลิตนั้นต้นทุนต่ำและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้นกว่าการผลิตพลาสติกแบบเดิม
ขั้นตอนการผลิตเริ่มต้นที่กระบวนการดักจับการปล่อยก๊าซมีเทน จากฟาร์มโคนม โรงบำบัดน้ำเสีย หลุมฝังกลบ หลังจากนั้นจะใช้เครื่องปฏิกรณ์ในการหลอมก๊าซและอากาศเพื่อเปลี่ยนมันให้กลายเป็นโพลิเมอร์เหลว (liquid polymer) หลังจากนั้นก็นำโพลิเมอร์เหลวมาสร้างเป็นเม็ดพลาสติกต่อไป
แม้ว่าปัจจุบันยังมีนักวิทยาศาสตร์หลายคนจะยังไม่ค่อยมั่นใจกับ เจ้าพลาสติก AirCarbon มากเท่าไหร่ เนื่องจากพวกเขามองว่ามันจะปล่อยคาร์บอนเป็นลบได้จริงหรือไม่
อย่างไรก็ดี Newlight ได้พยายามแสดงให้เห็นว่า AirCarbon นั้นสามารเป็นไปได้จริง และมันจะต้องสู้กับพลาสติกที่ผลิตจากน้ำมันได้ ทั้งเรื่องของราคาและความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยตอนนี้ Newlight สามารถพิสูจน์ให้เห็นว่า AirCarbon เป็นไปได้จริง ด้วยการใช้เป็นส่วนประกอบของแล็ปท็อปในบ้างรุ่น และใช้ผลิตเป็นเฟอร์นิเจอร์ อย่างชุดเก้าอี้ เป็นต้น ความสำเร็จดังกล่าวส่งผลต่อให้ Newlight และ AirCarbon ได้รับรางวัลอีกมากมาย
Metallic Trees ต้นไม้ฝีมือมนุษย์กับภารกิจการจัดการวิกฤตสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง
ต้นเหตุที่สำคัญของภาวะโลกร้อน คืิอ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นก๊าซที่เป็นส่วนประกอบที่ทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศ สิ่งหนึ่งที่จะช่วยยับยั้งปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่เพิ่มขึ้นได้นั้น คงจะหนีไม่พ้นต้นไม้ที่มีความสามารถในการดูดซับและกักเก็บคาร์บอนไม่ให้หลุดลอยไปสู่ชั้นบรรยากาศ และเปลี่ยนมันให้กลายเป็นออกซิเจนให้สิ่งมีชีวิตได้หายใจผ่านกระบวนการสังเคราะห์แสง ทว่าต้นไม้บนโลกมีจำนวนลดลงเรื่อย ๆ จากการขยายตัวของเมือง ประกอบกับอัตราการสังเคาะห์แสงของต้นไม้นั้นทำได้ค่อนข้างช้า จึงทำให้อาจไม่เพียงพอสำหรับการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์
ศาสตราจารย์ Klaus Lackner จาก มหาวิทยาลัยรัฐแอริโซนา (Arizona State University) ได้้ทำการวิจัยด้านการรวบรวมคาร์บอนไดออกไซด์ด้วยการใช้เทคนิคที่ใช้พลังงานต่ำและราคาที่ถูกด้วย ด้วยเหตุนี้เองง Lackner จึงได้สร้าง ต้นไม้โลหะ (Metallic Trees) ขึ้นมาเพื่อช่วยในการดักจับและกักเก็บคาร์บอน ซึ่งเขากล่าวว่าต้นไม้โลหะนี้สามารถดูดซับคาร์บอนได้มากกว่าต้นไม้ตามธรรมชาติถึง 1,000 เท่าเลยทีเดียว
กระบวนการในการทำงานของต้นไม้โลหะนี้ เริ่มด้วยการการใช้เรซินเคมีรวบรวมและกักเก็บคาร์บอนเอาไว้ในขณะที่ยังแห้งอยู่ ซึ่งต้นไม้จะรวบรวมคาร์บอนด้วยวิธีแห้งนี้ประมาณ 20 นาที แล้วจึงนำแผ่นเรซินหย่อนลงไปในภาชนะที่บรรจุกน้ำและไอน้ำ ภาชนะดังกล่าวจะกักเก็บคาร์บอนเอาไว้และแปรเปลี่ยนเป็นพลังงานความร้อนเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่
ต้นไม้โลหะยังถือว่าอยู่ในขั้นทดสอบอยู่ เขายังจำเป็นต้องใช้เวลาและเงินทุนอีกมากมายก่อนจะปล่อยต้นไม้เหล่านี้ออกสู่สาธารณะได้ ในระยะยาวพกวเขากำลังพยายามที่จะเปลี่ยนคาร์บอนที่ดักจับได้ให้กลายเป็นของแข็งผ่านการทำปฏิกิริยาต่อแคลเซียม ซึ่งนั่นยังเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลาต่อไป อย่างไรก็ดี ด้วยความที่ต้นไม้ใช้พลังงานหมุนเวียนได้ทั้งหมด ทำให้หลายหน่วนงานสนใจในนัวตกรรมดังกล่าว มหาวิทยาลัยแอริโซนาจึงได้มอบทุนให้เขาอีก 2.5 ล้านดอลลาร์ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาต้นไม้โละนี้ต่อไป และในอนาคตอีกไม่นานเราจะมีต้นไม้โลหะเพื่อช่วยโลกของเรามากยิ่งขึ้น
Seabin ถังขยะกลางทะเล เทคโนโลยีช่วยแก้ปัญหาขยะล้นมหาสมุทร
StartUp คือ พื้นที่รวบรวมความคิดสร้างสรรค์ของคนรุ่นใหม่ที่ต้องการเผยแพร่แนวคิดต่าง ๆ ผ่านพื้นที่ธุรกิจ Seabin Project หนึ่งในโปรแกรม StartUp ของ Andrew Turton และ Pete Ceglinski ชาวออสเตรเลียผู้มีความต้องการคิดค้นโปรเจกต์ที่ไม่ใช่แค่แปลกใหม่ แต่ยังสามารถช่วยโลกของเราได้ด้วย
เบื้องต้นพวกเขาได้เปิดยอดบริจาคจากประชาชนทั่วไปเพื่อนำเงินเหล่านี้มาลงทุนในโครงการ Seabin นี้ โดยตั้งเป้าไว้ที่ 230,000 ดอลลาร์ ทว่าพวกเขากัลบได้รับทุนไปมากถึง 267,767 ดอลลาร์เลยทีเดียว นี่จึงเป็นก้าวแรกที่สำคัญของโปรเจกต์ดังกล่าวนั่นเอง
ทั้งสองคนจึงได้ทุนในการคิดค้นถังขยะลอยน้ำขึ้นมา โดยงานของมันคือการลอยไปในทะเลและคอยเก็บขยะในทะเล ไม่ว่าจะเป็น ขวดพลาสติก คราบน้ำมัน เศษขยะอื่น ๆ การทำงานของถังขยะลอยน้ำนี้คือ จะดูดสิ่งปฏิกูลที่ลอยอยู่เข้าไปในถุงดัก ที่ติดตั้งอยู่บริเวณท่าเรือหรือบริเวณที่เหมาะแก่การทำความสะอาด ซึ่งมันทำงานผ่านเครื่องปั้มที่จะคอยปั้มน้ำให้ไหลวนอย่างต่อเนื่อง ถ้าหากน้ำที่ไหลคืนมานั้นมีคราบน้ำมันก็จะถูกแยกออกอีกชั้นหนึ่ง ด้วยเหตุนี้ทำให้ Seabin นั้นสามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่อง 24 ชั่วโมง โดยเราทำหน้าที่แค่เพียงเปลี่ยนถุงดักเท่านั้น