เทคโนโลยี สิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรมใหม่ รวมทุกเรื่องราวของโลกเทคโนโลยี ให้คุณได้ติดตาม

เทคโนโลยี สิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรมใหม่ รวมทุกเรื่องราวของโลกเทคโนโลยี ให้คุณได้ติดตาม

5นวัตกรรมช่วยการศึกษา ที่จะทำให้ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาหายไป

5นวัตกรรมช่วยการศึกษา

1. การจัดการศึกษาตามบริบทของพื้นที่ (Area based Education: ABE)

แนวคิดในการกระจายอำนาจในการบริหาร (Decentralization) เพื่อประสิทธิภาพในการบริหารจัดการทรัพยากร โดยให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ในครอบครัวและชุมชนโดยมีครอบครัวและชุมชนเป็นศูนย์กลาง ส่งเสริมโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับทุกคน และมุ่งพัฒนาเมืองและถิ่นฐานให้มนุษย์ได้อยู่ร่วมกันอย่างปลอดภัย และมีการช่วยเหลือเกื้อหนุนซึ่งกันและกันสู่ความยั่งยืน โดยในปี 2563 มี 174 เมืองจาก 55 ประเทศเข้าร่วมเป็นเครือข่ายเมืองแห่งการเรียนรู้

2. นวัตกรรมการเงินการคลังเพื่อสร้างความเสมอภาคทางการศึกษา

การลงทุนหรือการดำเนินการด้านการเงินการคลังที่ไม่ใช่กระแสหลัก เพราะคาดการณ์ว่าในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ทั่วโลกจะต้องใช้งบประมาณถึง 2.5 ล้านล้านบาท (United Nation, Economic and Social Commission for Asia and the Pacific, 2015) จำเป็นต้องมีการทดลอง หรือค้นหาวิธีการลงทุนที่ได้ประสิทธิผลดีขึ้น

3. การใช้ข้อมูลและระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ

การมีข้อมูลและระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพเป็นเครื่องมือสำคัญในการวางแผนตลอดจนการออกมาตรการ หรือนโยบายในระดับองค์กรเมือง หรือแม้แต่นโยบายระดับประเทศ

4. การสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม

แนวทางปวงชนเพื่อการศึกษา (All for Education) คือแนวคิดที่ว่า ทุกภาคส่วนในสังคม หน่วยงาน องค์กรทุกระดับ โดยเฉพาะภาคเอกชนและภาคประชาสังคมมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งยวดในการสร้างความเสมอภาคทางการศึกษา

5. การวิจัยและการประเมินผลเพื่อการพัฒนา (Research and Developmental Evaluation)

เป็นการวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้เชิงระบบและการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายบนหลักฐานเชิงประจักษ์ (Evidence-based Policy Recommendation) เพราะมาตรการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษามักถูกออกแบบและนำไปสู่การปฏิบัติโดย ขาดหลักฐานทางวิชาการสนับสนุน ขาดกระบวนการประเมินที่เพียงพอ ทำให้งบประมาณด้านการศึกษาจำนวนมากถูกใช้ไปกับมาตรการที่ลงทุนมาแต่อาจจะได้ผลน้อยกว่าที่ควรจะเป็น นี่จึงเป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญที่รางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ประจำปี 2562 ถูกมอบให้คณะนักเศรษฐศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัย MIT และ Harvard ที่ริเริ่มพัฒนากระบวนการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Approach) เพื่อค้นหามาตรการและนโยบายแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำและความยากจนที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด

ที่มา: eef

Tags

แชร์:

เรื่องอื่นๆ