7อาชีพเทคโนโลยีมาแรง
1. Programmer
โปรแกรมเมอร์ หรือ นักเขียนโปรแกรม เป็นตำแหน่งที่มาแรงสุดๆ และยังคงมาแรงอย่างต่อเนื่องเพราะธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับไอทีและดิจิทัลมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ
จึงเรียกได้ว่าเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานและเป็นอาชีพที่สามารถต่อยอดหรือปรับเปลี่ยนไปสายงานที่ใกล้เคียงได้ ไม่ว่าจะเป็น Website, Web application, Mobile application รวมถึงการเริ่มต้นทำกิจการที่เป็นเจ้าของเองก็ยังได้
สำหรับหน้าที่หลักของงานนี้ คือ การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์โดยใช้ภาษาทางโปรแกรมคอมพิวเตอร์อย่างน้อย 2-3 ภาษา เช่น ภาษา HTML, CSS, JavaScript, ReactJS, AngularJS, VueJS, NodeJS, Java, PHP, Python, Golang, R, .Net (C#, ASP, VB), สั่งการให้คอมพิวเตอร์หรือแอพพลิเคชั่นให้ทำตามที่เราต้องการ ส่วนรายได้เฉลี่ยต่อเดือนของตำแหน่งนี้จะอยู่ที่ 35K-115K บาท เลยทีเดียว ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ ทักษะทางเทคนิค และระดับความยากของเนื้องานด้วยนะ)
หากใครที่กำลังมองหางานนี้ล่ะก็ Manpower ขอกระซิบว่า นอกเหนือจากความสามารถด้านไอทีแล้วนั้น คุณจะต้องเป็นคนที่เรียนรู้อยู่ตลอดเวลา เพราะเทคโนโลยีใหม่ๆก็พัฒนาอยู่เสมอ ตัวโปรแกรมเมอร์เองก็ต้องพัฒนาตามให้ทัน รวมถึงหากคุณมีความพร้อมเป็นพิเศษ ในด้านการสื่อสารภาษาอังกฤษ จะได้เปรียบคู่แข่งที่มีอยู่มากมายในตลาด
เพราะอาชีพนี้ นอกจากจะเป็นที่ต้องการสูงในตลาดแรงงานไทยแล้ว ยังเป็นที่ต้องการอย่างสูงในตลาดแรงงานโลกอีกด้วยหรือถ้าได้มีโอกาสทำงานกับบริษัทต่างชาติในไทย ก็มีโอกาสที่จะได้รายได้ที่ปรับสูงขึ้น
2. Developer (Web/ Application/ Mobile)
เราเรียกคนเหล่านี้ว่า “นักสร้าง” และ “นักพัฒนา” ขึ้นอยู่กับว่าโปรดักส์ที่สร้างและพัฒนานั้นคืออะไร ไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์ แอพพลิเคชั่น ซึ่งสายงานนี้ส่วนใหญ่มักจะต่อยอดมากจาก Programmerนั่นเอง ซึ่งตัวDeveloperนั้นจะต้องสามารถเขียน และสร้างผลิตภัณฑ์ ออกแบบ วางแผน เขียนโค้ด รวมทั้งบริหารทั้งโปรเจคให้ผ่านไปด้วยดีในทุกขั้นตอน ซึ่งมักจะต้องมีความรับผิดชอบมากกว่าCoderและมีการแบ่งแยกความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ในด้านใดด้านหนึ่ง หรือมากกว่า จนหลายคนมองว่านักพัฒนาซอฟต์แวร์จะต้องเก่ง และมีความเป็นมืออาชีพมาก เนื่องจากสามารถทำงานได้ทุกขั้นตอนได้ด้วยตัวเองเลย
ซึ่ง Developer ที่จะประสบความสำเร็จนั้น ไม่ได้อาศัยเพียงแค่ทักษะด้านการ Coding อย่างเดียว แต่จำเป็นต้องมีทักษะพื้นฐานด้านอื่นๆด้วย เช่น Containers (Docker และ Kubernetes), Cloud Platform (AWS, GCP, หรือ Azure), Microservices, Framework, Data Structure,Algorithm, Version Control Tool, IDEs (Integrated Development Environment), Database & SQL และ OOP Programming language HTML, CSS, JavaScript, ReactJS, AngularJS, VueJS, NodeJS, Java, PHP, Python, Golang, R, .Net (C#, ASP, VB)
นอกจากทักษะด้าน Hard skills แล้ว สิ่งที่จะทำให้ Developer ทั้งหลายนั้นโดดเด่นเป็นสง่า มีออร่าพุ่งออกมาอย่างแตกต่างจากคนอื่นในสนามแข่ง ก็คือ ทักษะด้าน Soft Skills นั่นเอง เช่น ความสามารถในการสื่อสาร รับฟังอย่างเข้าใจ การเข้าใจความต้องการทางธุรกิจ การประสานงานและการแก้ปัญหา รวมถึง ความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดี (ก็อย่างที่ทราบนะว่า Developer หลายๆคน อาจจะเก่งมากจนไม่สามารถทำงานร่วมกับคนในทีมได้) ดังนั้น ถ้า Developer คนไหน สามารถพัฒนาตัวเองให้เด่นทั้ง Hard Skills และ Soft Skills แล้วล่ะก็ รับรองว่าต้องเนื้อหอมสุดๆไปเลย ส่วนรายได้เฉลี่ยต่อเดือนของตำแหน่งนี้จะอยู่ที่ 35K-125K บาท
3. Software Engineer
มาต่อกันที่ อาชีพสุดฮอตกว่าอากาศไทยแลนด์ของเรา สายงานนี้เรียกได้ว่า ร้อนแรงสุดๆหยุดไม่อยู่ เพราะมีความสำคัญอย่างมากต่อองค์กร และมีความต้องการสูงมากในตลาดแรงงานในทุกๆอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นธนาคาร การเงิน โทรคมนาคม ค้าปลีก อี-คอมเมิร์ซ โลจิสติกส์ การผลิต การแพทย์ วิทยาศาสตร์ พลังงาน หรือ เทคโนโลยี
หน้าที่ของ Software Engineerหรือ”นักวิศวกรซอฟต์แวร์”ก็คือ การทำงานวิจัย ออกแบบซึ่งเริ่มตั้งแต่การรับrequirementวิเคราะห์เพื่อออกแบบขึ้นมาเป็นระบบ พัฒนา เขียนcodingและปรับปรุงระบบซอฟต์แวร์ ควบคู่ไปกับการพัฒนาฮาร์ดแวร์ขององค์กรให้มีความทันสมัย และตอบโจทย์การใช้งานในด้านต่างๆ รวมถึงควบคุม และป้องกันไม่ให้เกิดความผิดพลาดในองค์กรที่อาจส่งผลต่อความเสียหายมูลค่ามหาศาลของบริษัท เช่น ในบริษัทด้านการลงทุน หากลูกค้าติดปัญหาในการทำธุรกรรมทางการเงินระหว่างลงทุน ก็อาจส่งผลต่อความเชื่อมั่นขององค์กร เป็นต้น
ซึ่งการที่จะได้มาอยู่ในตำแหน่งที่สำคัญแบบนี้นั้น คุณอาจจะต้องจบการศึกษาเฉพาะทางเท่านั้น เช่น วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งในไทยอาจจะมีหลักสูตรเปิดสอนไม่มากนักแต่หากใครคิดจะเรียนต่อยอดในสายนี้แล้วล่ะก็ รับรองว่าคุ้มแน่นอน เพราะคนที่จบโดยตรงจากสายงานนี้ ยังสามารถเลือกทำงานได้ในหลายตำแหน่งเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็น Technical, IT Project Manager,Technical Consultant, Software Architect, System Analyst, Scrum Master และ Programmer
ส่วนผลตอบแทน หรือรายได้นั้น หากคุณเดินทางมาจนถึง Software Engineerระดับสูงแล้วล่ะก็ คุณอาจมีรายได้มากกว่าระดับผู้บริหารเสียอีก รายได้เฉลี่ยต่อเดือนของตำแหน่งนี้จะอยู่ที่40K-155Kบาท(ตามระดับงานและประสบการณ์)เพราะระบบซอฟต์แวร์ภายในองค์กรนั้นถือเป็นสิ่งที่สำคัญมาก และต้องการผู้ที่เชี่ยวชาญทางด้านนี้โดยตรงเพื่อเข้ามาดูแล และรับผิดชอบงานในส่วนนี้
4.Data Scientist (นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล)
หน้าที่หลักของ Data Scientist คือ การนำข้อมูลที่มีมาวิเคราะห์ด้วยเทคนิคขั้นสูง เช่น Machine Learning , Optimization เพื่อนำข้อมูลที่วิเคราะห์ได้ นำไปใช้ประโยชน์ตามจุดประสงค์ที่ต้องการ หรือ เพื่อนำมาตอบคำถามที่สำคัญทางธุรกิจ เช่น ข้อมูลต่างๆของลูกค้า ชนิดของสินค้าที่ขายดี จำนวนสินค้าที่ขายได้จากแต่ละสาขา แรงจูงใจของผู้ซื้อ เป็นต้น สิ่งที่ Data Scientist จะทำ คือ เขาจะต้องเอาข้อมูลต่างๆมาวิเคราะห์ว่า สินค้าไหนขายดี สาขาไหนยอดขายน้อย ลูกค้าส่วนใหญ่ซื้อเวลาไหน
เพื่อวิเคราะห์ในการจัดรูปแบบระบบขนส่งให้ดีขึ้น หรือทำโฆษณาแบบเฉพาะเจาะจง (Personalisation) ตามความชอบของกลุ่มลูกค้าและสายงานนี้ก็ยังมีความเนื้อหอมที่จะถูกจีบไปอยู่ได้ในทุกประเภทของธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจที่ขับเคลื่อนในการใช้ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ยิ่งต่างพากันแย่งตัว Data Scientist ไปร่วมงานเพื่อเข้าถึง Insight ของข้อมูลและพฤติกรรมของลูกค้า/ตลาด และนำมาสร้างเป็น value ต่อยอดให้กับธุรกิจให้ตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายนั่นเอง ส่วนรายได้เฉลี่ยต่อเดือนของตำแหน่งนี้จะอยู่ที่ 40K-200K บาท (ตามระดับงานและประสบการณ์) เลยทีเดียว ถือว่าเป็นอีกอาชีพที่น่าจับตา และสามารถทำเงินได้มากถึง 6 หลักเลย
5. Data Engineer
Data Engineer หรือที่เรียกกันว่า “นักรวบรวมข้อมูล” หรือ “วิศวกรข้อมูล” คือ ผู้ที่มีหน้าที่ในการนำข้อมูลที่อยู่กระจัดกระจายจากต้นทาง (Data Source) ไปจัดเก็บอย่างเป็นระเบียบในระบบเก็บข้อมูล เช่น Database, Data Warehouse, หรือ Data Lake พร้อมทั้งเป็นส่วนสำคัญในการทำ ETL (Extract-Transform-Load) ข้อมูลต่างๆเพื่อให้คนในองค์กรสามารถนำข้อมูลเหล่านั้นมาวิเคราะห์ได้ง่ายๆ (ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะส่งต่อข้อมูลให้กับ Data Scientist เพื่อนำไปวิเคราะห์เชิงลึกอีกที)
ซึ่งอาชีพนี้ ถือว่าฮอตสุดๆสำหรับเด็กจบใหม่หลายๆคนเลยนะ เพราะบางที่ก็ไม่ได้ต้องการประสบการณ์ในการทำงานมากนัก เพียงแต่ผู้สมัครจะมีความรู้ และความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการทำข้อมูล แล้วเราควรมีความรู้พื้นฐานอะไรมาก่อนบ้าง?ที่สำคัญเลย คือ พื้นฐานด้านSoftware Engineeringหรือ ความสามารถพื้นฐานในการเขียนโปรแกรม ซึ่งData Engineerนั้นอาจจะไม่ต้องถึงกับเขียนโค้ดได้ระดับเทพ แต่ก็ต้องพอมีพื้นฐาน และสามารถเขียนโปรแกรมได้ รวมถึงอ่านโค้ดเข้าใจได้ในระดับนึง ซึ่งหากData Engineerคนไหนที่เขียนโค้ดแม่นมากๆ ก็จะสามารถต่อยอดไปเป็นMachine Learning Engineerได้
นอกจากนั้น ควรจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับวิธีการออกแบบ Database,วิธีเขียน และอ่านERD (Entity Relationship Diagram), Normal Formว่าแต่ละระดับแตกต่างกันอย่างไร รวมถึง วิธีแก้ปัญหาDatabaseเบื้องต้น และที่ขาดไม่ได้เลยคือ ความเข้าใจในภาษาShell ScriptและภาษาSQL (Structured Query Language) ซึ่งเป็นภาษาทั่วไปที่จำเป็นต้องใช้ในการดึงข้อมูล และจัดการกับข้อมูลจำนวนมากอย่างBig Dataนั่นเอง ส่วนรายได้เฉลี่ยต่อเดือนของตำแหน่งนี้จะอยู่ที่30K-125Kบาท
6. Cloud & Infrastructure
หลายๆคนอาจจะไม่ค่อยเข้าใจมากนักกับตำแหน่งในสายงานนี้ ว่าจริงๆแล้วเค้าต้องทำอะไรกันแน่ แต่จริงๆแล้ว Cloud & Infrastructure มีความสำคัญอย่างมาก และยังคงเป็นที่ต้องการอย่างสูงในตลาดแรงงานอีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคของคลาวด์คอมพิวติ้ง เพราะเขาคือผู้ที่ดูแลหัวใจของระบบโครงสร้างไอทีในองค์กร หรือ ถ้าจะเปรียบการวางระบบไอทีในสำนักงานกับการสร้างบ้าน Cloud &Infrastructure ก็เปรียบได้กับ สถาปนิกผู้เชี่ยวชาญผู้ที่มาออกแบบวางสถาปัตยกรรมและโครงสร้างของบ้านนั่นเอง
การออกแบบด้านระบบไอทีให้กับองค์กรนั้น เป็นงานที่จำเป็นจะต้องอาศัยผู้ที่ชำนาญเฉพาะทางจริงๆ จึงจะออกแบบมาได้ครอบคลุม และตอบโจทย์ประสิทธิภาพการใช้งานของทุกๆคนในองค์กร หรือ ตำแหน่งงานนี้ในบางบริษัทอาจจะครอบคลุมแค่ในส่วนของการดูแล และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นเท่านั้นส่วนองค์ประกอบหลักๆของงาน Infrastructure ก็จะสามารถแบ่งได้เป็น งานด้านออกแบบ การติดตั้ง และวางระบบ Cloud, System/Server, Network, การสร้างและการจัดการ Data Center, การจัดซื้อ และเลือกใช้ Storage, การเลือกใช้ระบบปฏิบัติการ, การ Backup ข้อมูล, และดูแลความปลอดภัยของโครงสร้างของระบบโดยรวม เรียกได้ว่าครอบคลุมทุกส่วนงานที่เป็นกระดูกสันหลังทางด้าน IT ขององค์กรเลย
ถ้าหากคุณเป็นคนหนึ่งที่สนใจจะสมัครงานในด้านนี้แล้วล่ะก็ สิ่งที่จะทำให้คุณโดดเด่นกว่าคนอื่นๆ ก็คือ คุณจำเป็นที่จะมีความรู้ และชำนาญในระบบ IT Infrastructureตัวจริง ซึ่งรวมถึงมีความรู้เกี่ยวกับทั้งระบบเก่าและใหม่ที่สอดคล้องกับเทคโนโลยีที่พัฒนาไปอย่างไม่หยุดยั้งในปัจจุบัน ส่วนรายได้เฉลี่ยต่อเดือนของตำแหน่งนี้จะอยู่ที่25K-180Kบาท
7. AI / Machine Learning Engineer
เป็นอีกหนึ่งสายงานเนื้อหอมที่มาแรงแซงโค้งและมีแนวโน้มจะเป็นที่ต้องการสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องแน่นอน ยิ่งในยุคของการเติบโตก้าวล้ำของข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data)คลาวด์คอมพิวติ้ง (Cloud Computing) รวมไปถึงหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ(Robotic & Automation) ยิ่งเป็นตัวเร่งให้เกิดความต้องการในสายงานนี้อย่างต่อเนื่องMachine Learning Engineerต้องรับผิดชอบเกี่ยวกับML Modelเพื่อ Train ระบบ สร้างการเรียนรู้ใหม่ๆนำไปต่อยอดและสร้าง APIให้สามารถนำไปใช้งานได้จริงๆ รวมไปถึงมีหน้าที่ดูแลและตรวจสอบระบบในการทำงานต่อไป
ในสายงานนี้จะต้องมีความสามารถและทักษะในการใช้เครื่องมือไม่ว่าจะเป็นPython, Java, Docker, Kubernetes, TensorFlow, PyTorch, Caffe, Keras, CI&CD, Linux, Cloud Platformsต่างๆ รวมไปถึงต้องมีทักษะที่สำคัญในการCodingเข้าใจAlgorithmsและData Structureด้วย ส่วนรายได้เฉลี่ยต่อเดือนของตำแหน่งนี้จะอยู่ที่ 40K – 165K บาท
ที่มา: manpowerthailand